ดาวเทียมสื่อสาร
ดาวเทียมสื่อสาร tion satellite หรือเรียกสั้นๆ ว่า comsat) เป็นดาวเทียมที่มีจุดประสงค์เพื่อการสื่อสารและโทรคมนาคม จะถูกส่งไปในช่วงอากาศเข้าสู่วงโคจรโดยมีความห่างจากพื้นโลกโดยประมาณ 35.786 กิโลเมตร ซึ่งความสูงในระดับนี้จะเป็นผลทำให้เกิดแรงดึงดูระหว่างโลกกับดาวเทียม ขณะที่โลกหมุนก็จะส่งแรงเหวี่ยง ทำให้ดาวเทียมเกิดการโคจรรอบโลกตามการหมุนของโลก
การสื่อสารผ่านดาวเทียม
การสื่อสารผ่านดาวเทียม คงจะคุ้นเคยกับคำๆนี้ ในการแข่งขันฟุตบอลโลกปีนี้ก็มีเรื่องของการถ่ายทอดสดผ่านดาวเทียม การส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมเป็นอย่างไร วันนี้จะมานำเสนอถึงรายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับ การสื่อสารผ่านดาวเทียมกัน เพื่อเป็นประโยชน์ เรามาเรียนรู้กับ แบบต่างๆของจานดาวเทียม กันด้วยดีกว่าครับเราสามารถแบ่งจานดาวเทียมได้ตามโครงสร้าง เช่น จานดาวเทียมแบบที่มีจานสะท้อนอันเดียว( single reflector antenna) และ แบบทีมี จานสะท้อนแบบ 2 อัน ( dual reflector antenna)และ ในแต่ละแบบ ยังแบ่งได้เป็นโครงสร้างแบบ สมมาตร (Symmetrical type) และ แบบ ไม่สมมาตร (Asymmetrical type)
ประโยชน์ของดาวเทียมสื่อสาร
ย้อนไปเมื่อ 17 ธ.ค. 2536 หลายคนต่างตั้งตารอหน้าจอโทรทัศน์ ดูถ่ายทอดสดการปล่อยจรวจเอเรียน 4 จากฐานยิงจรวดเอเรี่ยนสเปซ เมืองคูรู จังหวัดโพ้นทะเลเฟรนช์กิอานา ของฝรั่งเศส ช่วงนั้น คนไทยจำนวนมากไม่รู้จักสถานที่ที่กล่าวมา แต่ขณะนี้เรารู้จักกันมากขึ้น เพราะสิ่งที่อยู่บนหัวของจรวด คือ ดาวเทียมไทยคม 1 A ดาวเทียมสื่อสารดวงแรกของประเทศไทย ที่ได้ถูกส่งขึ้นไปบนอวกาศ อีกทั้ง ทำให้เกิดปรากฎการณ์ใหม่ที่บ้านพักอาศัยจำนวนมาก เริ่มติดตั้งอุปกรณ์รับสัญญาณดาวเทียมแบบ DTH (Direct To Home) หลังจากนั้นเป็นต้นมา ประเทศไทยก็มีดาวเทียมสื่อสารเชิงพาณิชย์ตามมาอีก ได้แก่ ไทยคม 2 และ ไทยคม 3
กั สืบเนื่องมาจากเมื่อปี 2509 ขณะนั้น ไทยไม่มีดาวเทียมสื่อสารเป็นของตัวเอง ต้องเช่าสัญญาณดาวเทียมจาก ดาวเทียมอินเทลแซท ขององค์การอินเทลแซท (Intelsat: International Telecommunication Satellite Consortium) เป็นองค์กรมีหน้าที่จัดหาและดำเนินการให้บริการดาวเทียม เพื่อการสื่อสารโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ก่อตั้งโดยประเทศสมาชิกสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) เมื่อปี 2507 มีสมาชิกก่อตั้ง 11 ประเทศ และ ดาวเทียมปาลาปา ของอินโดนีเซีย ไทยจึงเข้าเป็นสมาชิกอินเทลแซท โดย การสื่อสารแห่งประเทศไทย ปัจจุบัน คือ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ได้สร้างสถานีรับสัญญาณที่ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี เพื่อติดต่อสื่อสารกับสถานีดาวเทียม ภาคพื้นดินประเทศอื่นๆ จึงทำให้คนไทยได้มีโอกาสรู้จักคำว่า “ถ่ายทอดสดผ่านดาวเทียม” จากนั้นเมื่อปี 2526 กระทรวงคมนาคม ได้ศึกษาหาความเป็นไปได้ ที่ประเทศไทยจะมีดาวเทียมใช้เอง จึงได้เปิดให้เอกชนที่สนใจ ยื่นข้อเสนอมาให้รัฐบาลพิจารณา และบริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำด (มหาชน) ก็ได้เป็นผู้ดำเนินการโครงการดาวเทียมไทยคม
นอกเหนือจาก การใช้งานดาวเทียมเพื่อการสื่อสารแล้ว ประเทศไทยยังได้ใช้ดาวเทียมแบบอื่นๆ อาทิ ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา และดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ ที่ล้วนนำไปใช้ประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยทั้งประเทศ สำหรับดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา ประเทศไทยเริ่มใช้งานดาวเทียมประเภทนี้มาตั้งแต่ปี 2513 ที่กรมอุตุนิยมวิทยาได้ใช้งานภาพถ่าย จากดาวเทียมโกส์ (GOES: Geostationary Operational Environment Satellite) มาประกอบกับการพยากรณ์อากาศ ทั้งนี้ ประโยชน์จากการใช้งานดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาได้แก่
1. ใช้ตรวจสอบสารประกอบทางอุตุนิยมวิทยาจากระยะไกล เช่น ตรวจเมฆ การเคลื่อนที่ของเมฆ อุณหภูมิพื้นผิวโลก และความชื้นของ
ชั้นบรรยากาศ เป็นต้น
2. ใช้ในการรวบรวมข้อมูลรับ-ส่ง ข่าวสารทางอุตุนิยมวิทยาที่ตรวจจากสถานีเคลื่อนที่ หรือ สถานีอัตโนมัติ เช่น ทุ่นลอย เรือ และเครื่องบิน และ
3. ใช้ในการกระจายข่าวสารด้านอุตุนิยมวิทยาไปยังประเทศต่างๆ และสมาชิกหรือผู้ใช้ข้อมูลโดยตรง
วิถีการโคจร
ดาวเทียมสื่อสารโคจรเป็นวงกลมในแนวระนาบกับเส้นศูนย์สูตร หรือที่เรียกว่า "วงโคจรค้างฟ้า (Geostationary Orbit)"
ดาวเทียมสื่อสารโคจรเป็นวงกลมในแนวระนาบกับเส้นศูนย์สูตร หรือที่เรียกว่า "วงโคจรค้างฟ้า (Geostationary Orbit)"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น